ศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 ร่วมการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ จังหวัดยโสธร รอบที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2568
19 มิ.ย. 2568 95วันที่ 17 - 19 มิถุนายน 2568 ดร.สุภาภรณ์ ศรีธัญรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 พร้อมด้วย นายแพทย์โกศล วราอัศวปติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ และทีมตรวจราชการฯ ร่วมการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ จังหวัดยโสธร รอบที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2568 ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธรและโรงพยาบาลยโสธร โดยมีเภสัชกรวีระชัย นลวชัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 10 เป็นประธาน พร้อมด้วย แพทย์หญิงอุไรวรรณ จำนรรจ์สิริ สาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 10 และคณะผู้บริหาร บุคลากรสาธารณสุข ศูนย์วิชาการ สถานบริการและหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมการตรวจราชการฯ เพื่อติดตามความก้าวหน้า ของการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวง ได้แก่ นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค, ระบบสุขภาพปฐมภูมิ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องของศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 รับผิดชอบ ตลอดจนประเมินผลการดำเนินงาน ตามแผนงาน กลยุทธ์ ตัวชี้วัดและเป้าหมายที่กำหนดไว้ ในการนี้คณะผู้นืเทศได้ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะ แก่พื้นที่ในการแก้ปัญหา อุปสรรค เพื่อนำไปสู่การปรับปรุง พัฒนางานเชิงคุณภาพการให้บริการให้ดียิ่งขึ้น จากมุมมองและแนวทางที่หลากหลาย รวมถึงได้เสริมสร้างขวัญและกำลังใจ แก่บุคลากรสาธารณสุขผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตและยาเสพติดในพื้นที่ เป็นเวทีที่เปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สู่แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practices) ระหว่างพื้นที่กับศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 และโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ผู้นิเทศจะได้รวบรวมข้อมูลและรายงาน ข้อเท็จจริงจากพื้นที่เพื่อใช้ในการกำหนดแนวนโยบาย ปรับปรุงแนวทางในระดับกระทรวงสาธารณสุขต่อไป ซึ่งศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 ในบทบาทศูนย์วิชาการ ร่วมการตรวจราชการและนิเทศงาน ในประเด็นดังนี้
1) ประเด็นที่ 3 เพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพจิตและการบำบัดยาเสพติด โดย นายกฤษณ์ ลำพุทธา หัวหน้างานนิเทศ ติดตามและประเมินผล นางสาวณัฐรดา สุวรรณกูฎ นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ และ นางสาวธัญญาพร ไชยดำ นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ ซึ่งผลการดำเนินงานเพื่อลดปัญหาการฆ่าตัวตายที่โดดเด่น เป็นข้อชื่นชม ได้แก่ การดำเนินการสอบสวนกรณีฆ่าตัวตายสำเร็จและพยายามฆ่าตัวตาย ครบตามเป้าหมาย 100% และมีการวิเคราะห์ คืนข้อมูลพื้นที่ และกำกับติดตามอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาลยโสธร มีการคัดกรอง ค้นหากลุ่มเสี่ยงอย่างเป็นระบบ ผ่านกลไก Setting สถานศึกษา สถานบริการ และชุมชน มีกลไกผลักดันวาระสุขภาพจิตและยาเสพติด สู่ระดับจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้บริหารระดับต่าง ๆ ให้ความสำคัญ มีการการขยายผลแนวทางเสริมสร้างปัจจัยป้องกันด้านชุมชน “วัคซีนใจในชุมชน” ในการเฝ้าระวังผ่านแกนนำชุมชน อสม. ครบทุกอำเภอ และมีแผนการขยายผลระดับตำบลต่อเนื่อง สำหรับประเด็นยาเสพติด มีข้อชื่นชม ได้แก่ ผู้ป่วยโรคจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) ไม่ก่อความรุนแรงซ้ำ ร้อยละ 95.85 มีนวัตกรรมการใช้ “Application ฟื้นใจ / Buddy home care” เป็นการติดตามผู้ป่วย SMI-V อย่างต่อเนื่องในชุมชน ดำเนินการเปิดมินิธัญญารักษ์ รูปแบบ IMC ในทุกอำเภอ ในส่วนการดำเนินงานกลไกการบำบัดชุมชนเป็นฐาน (CBTx) แบบบูรณาการครบวงจร ทุกภาคส่วน มีความครอบคลุมทุกอำเภอ ซึ่งดำเนินการ CBTx ได้เกินค่าเป้าหมาย และโรงพยาบาลยโสธร เปิดให้บริการครอบคลุมให้บริการทั้งหอผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติด และ IMC ลดอัตราการส่งต่อจากจังหวัดยโสธร สู่โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ตลอดจนมีการลงนามความร่วมมือ (MOU) กับภาคีเครือข่ายตำรวจ ในเรื่อง การระงับเหตุ การนำส่ง และ ร่วมดูแลในหอผุู้ป่วยจิตเวช มีการดำเนินงานต่อเนื่อง
2) ประเด็น Area Based: Regional Level เรื่อง โครงการเสริมสร้างเด็กเขต 10 พัฒนาการสมวัย ไอคิว เกิน 103 ในปี 2569 โดย นางพัชรินทร์ วรรณุรักษ์ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการสุขภาพจิต และ นางสาวปุณณา สังข์สุวรรณ นักจิตวิทยาคลินิกปฏิบัติการ ซึ่งผลการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างไอคิวเด็กที่โดดเด่น เป็นข้อชื่นชม ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัดให้ความสำคัญ จังหวัดมีแผนการขับเคลื่อนพัฒนาระดับสติปัญญาของเด็กที่ชัดเจน ด้านบุคลากรมีพยาบาลเฉพาะทางสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ครบทุกอำเภอ ครูและครูผู้ดูแลเด็ก ได้รับการพัฒนาศักยภาพในการส้งเสริมพัฒนาการ วินัยเชิงบวก และทักษะการบริหารจัดการตนเองขั้นสูง หรือ Executive Functions EF ในเด็กปฐมวัยครบคลุม 100% ครบทุกอำเภอ

















































