ศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 ร่วมประเมินสถานประกอบการ "บริษัท พรูเด็นเชียล แอมพรี ไทยแลนด์ จำกัด" ตามเกณฑ์การพัฒนาสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข

28 เม.ย. 2568 32

วันที่ 28 เมษายน 2568 ดร.สุภาภรณ์ ศรีธัญรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 มอบหมายให้ นางสาวณัฐรดา สุวรรณกูฏ หัวหน้างานสร้างเสริมความรอบรู้สุขภาพจิตฯ ศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 ลงพื้นที่ประเมินสถานประกอบการตามเกณฑ์การพัฒนาสถานประกอบการ "ปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข ในสถานประกอบการ" ณ บริษัท พรูเด็นเชียล แอมพรี ไทยแลนด์ จำกัด อำเภอเขื่องใน จังหวัด‎อุบลราชธานี‎ โดยมี นายมนตรี จันทร์เทพา ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายบริหาร บริษัท พรูเด็นเชียล แอมพรี ไทยแลนด์ จำกัด พร้อมด้วย บุคลากรเจ้าหน้าที่กลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี และโรงพยาบาลเขื่องใน ให้การต้อนรับ นำเสนอการดำเนินงานสถานประกอบการณ์ตามเกณฑ์การพัฒนาสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข ในสถานประกอบการ คณะผู้ประเมินให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการดำเนินงานตามเกณฑ์ฯ ได้แก่ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี ศูนย์อนามัยที่ 10 และศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 เพื่อพิจารณารับรองสถานประกอบการที่มีการดำเนินงานดีเด่นให้เป็นสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข ในระดับทองต่อไป ทั้งนี้การพิจารณารับรองสถานประกอบการ เป็นการเชิดชูเกียรติให้แก่สถานประกอบการที่มีผลการดำเนินงานดีเยี่ยมและเป็นไปตามเกณฑ์การพัฒนา

สำหรับเป็นแนวคิดและโครงการที่ส่งเสริมให้สถานประกอบการ (เช่น โรงงาน บริษัท ร้านค้า ฯลฯ) เป็นสถานที่ทำงานที่ปลอดภัยต่อสุขภาพกายและจิตใจของพนักงาน โดยมีเป้าหมายหลักคือการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ปฏิบัติงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรในระยะยาว องค์ประกอบหลักของสถานประกอบการ "ปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข"

ปลอดโรค : มีการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อและไม่ติดต่อ ส่งเสริมการตรวจสุขภาพประจำปี ให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ

ปลอดภัย : มีระบบความปลอดภัยในการทำงาน เช่น PPE, การซ้อมหนีไฟ ป้องกันอุบัติเหตุและอุบัติภัยในสถานประกอบการ มีการจัดการความเสี่ยงจากสารเคมีหรือเครื่องจักรอย่างเหมาะสม

กายใจเป็นสุข : สภาพแวดล้อมในการทำงานเอื้อต่อสุขภาวะ เช่น แสงสว่าง อากาศ ระบบระบายอากาศ สนับสนุนความสมดุลระหว่างชีวิตและงาน (work-life balance) ส่งเสริมกิจกรรมสร้างสุข เช่น ออกกำลังกาย การผ่อนคลายความเครียด การประเมินและดูแลด้านสุขภาพจิต

ประโยชน์ของโครงการนี้ เป็นการลดอัตราการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุจากการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและความพึงพอใจของพนักงาน ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร และสอดคล้องกับมาตรฐานการดูแลแรงงานและความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)