ศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 ร่วมกับ โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ รอบที่ 1 ปีงบประมาณ 2568 จังหวัดศรีสะเกษ
27 ก.พ. 2568 185วันที่ 25 - 27 กุมภาพันธุ์ 2568 ดร.สุภาภรณ์ ศรีธัญรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 พร้อมด้วย นายแพทย์โกศล วราอัศวปติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ และคณะผู้ตรวจราชการและนิเทศงานศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ร่วมการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ จังหวัดศรีสะเกษ รอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2568 ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ โรงพยาบาลศรีสะเกษ โรงพยาบาลและคปสอ.ศรีรัตนะ โดยมี เภสัชกรวีระชัย นลวชัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 10 เป็นประธาน พร้อมด้วย แพทย์หญิงอุไรวรรณ จำนรรจ์สิริ สาธารณสุขนิเทศก์ และคณะผู้บริหาร บุคลากรสาธารณสุขให้การต้อนรับ ซึ่งศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 ร่วมการตรวจราชการฯ ในประเด็นที่ 3 เพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพจิตและการบำบัดยาเสพติด ประเด็นที่ 9 Area Based : Regional Level เรื่อง โครงการเสริมสร้างเด็กเขต 10 พัฒนาการสมวัย ไอคิว เกิน 103 ในปี 2569
ในการตรวจราชการฯ รอบที่ 1 ประเด็นสุขภาพจิตและยาเสพติด ข้อชื่นชมและสิ่งที่ดำเนินการได้ดี ดังนี้
1.) จังหวัดมีระบบการดูแลเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายที่ดี ตั้งแต่กระบวนการสอบสวนโรค วิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ สะท้อนบ่งชี้ปัญหา สู่การกำหนดมาตรการและแก้ไขปัญหาในพื้นที่ (SSK Model)
2.) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ เป็นผู้บริหารจัดการโครงการ (PM) ได้รับงบประมาณสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคระดับเขต (PPA) ในขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาฆ่าตัวตายในเด็กวัยรุ่น ภาพเขตสุขภาพที่ 10
3.) มีการดำเนินงานประชุม Case Conference กับกรณีฆ่าตัวตาย อย่างต่อเนื่อง (Online)
4.) มีแผนการพัฒนา Dashboard งานสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น ที่เกี่ยวกับประเด็นฆ่าตัวตาย
5.) มีการใช้กลไกคณะอนุกรรมการสุขภาพจิตจังหวัด เป็นเวทีสร้างการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตระดับจังหวัด
6.) มีการคัดกรองผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิต เข้ารับการบำบัด อันดับ 4 ของประเทศ (77.62%)
7.) มีรูปแบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด แบบบูรณาการ SSK Model
8.) มีมินิธัญญารักษ์ 4 แห่ง ที่ รพ.ศรีรัตนะ โพธิ์ศรีสุวรรณ ปรางค์กู่ และเมืองจันทร์ สามารถนำผู้ป่วยเข้ารักษา อันดับ 1 ของประเทศ
9.) รพ.ศรีรัตนะ เปิดให้บริการมินิธัญญารักษ์ ได้ถึง 150 เตียง และมีจุดเด่นในการนำระบบ IT มาพัฒนาระบบงาน เชิญแพทย์เฉพาะทางมาช่วยตรวจรักษาคลินิกพิเศษต่าง ๆ
10.) ศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม มีแผนจัดตั้งนำร่อง 8 อำเภอ คือ กันทรารมย์ ขุขันธ์ ขุนหาญ น้ำเกลี้ยง อุทุมพรพิสัย ภูสิงห์ เบญจลักษ์ และราษีไศล
11.) รพ.ศรีสะเกษ สามารถให้การรักษา Modified ECT และเป็นพี่เลี้ยงให้กับ เครือข่าย รพช. ในพื้นที่
12.) จัดประชุมการจัดการภาวะฉุกเฉินในผู้ป่วยจิตเวชสำหรับบุคลากรสาธารณสุข ครอบคลุมทั้งจังหวัด
13.) นำเข้าข้อมูล ผู้ป่วย SMI-V ใน HDC Service ที่เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา ดูแลต่อเนื่อง จนไม่ก่อความรุนแรงซ้ำ และมีระบบการติดตามผู้ป่วย SMI-V ได้ดี ทำให้ผู้ป่วยทุกราย ร่วมมือรักษา












































