ตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดมุกดาหาร รอบที่ 2 ปีงบประมาณ 2567

21 มิ.ย. 2567 277

กรมสุขภาพจิต โดย นายแพทย์นรวีร์ พุ่มจันทร์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ ร่วมกับ ดร.สุภาภรณ์ ศรีธัญรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตทึ่ 10 ประธานคณะตรวจราชการและนิเทศงาน กระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 10 ประเด็นที่ 2 สุขภาพจิตและยาเสพติด และคณะตรวจราชการฯ นางสาวสกุลรัตน์ จารุสันติกุล หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการสุขภาพจิต ศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 พร้อมคณะผู้นิเทศศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 ลงพื้นที่ตรวจราชการและสรุปผลการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดมุกดาหาร รอบที่ 2 ปีงบประมาณ 2567 ระหว่างวันที่ 19 - 21 มิถุนายน 2567 โดยมี นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร่วมการตรวจราชการฯ นายแพทย์สมฤกษ์ จึงสมาน ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 10 เป็นประธานการสรุปผลฯ แพทย์หญิงอุไรวรรณ จำนรรจ์สิริ สาธารณสุขนิเทศก์ และคณะผู้บริหารเข้าร่วมฯ ในส่วนของประเด็นที่ 2 สุขภาพจิตและยาเสพติด Grouping & Clustering : สรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด จำนวน 6 ตัวชี้วัด ด้านบริการเป็นเลิศ (Service Excellence) เพื่อให้ผู้มีปัญหาสุขภาพจิต ผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพได้ทุกทึ่ (Mental Health Anywhere) สามารถกลับไปใช้ชีวิตในชุมชนได้ “คืนคนสู่สังคม สังคมปลอดภัย ไร้ความรุนแรง” ได้แก่

✅ มินิธัญญารักษ์ดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดอย่างครบวงจร เป้าหมาย 1 แห่ง ดำเนินการ 1 แห่ง มินิธัญญารักษ์ โรงพยาบาลคำชะอี ผลการดำเนินงานร้อยละ 100

✅ ร้อยละ 70 หอผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีคุณภาพในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป เป้าหมาย 1 แห่ง ดำเนินการ 1 แห่ง ผลการดำเนินงานร้อยละ 100

✅ ร้อยละ 100 โรงพยาบาลชุมชนที่มีกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด เป้าหมาย 6 แห่ง ดำเนินการ 6 แห่ง/อำเภอ ผลการดำเนินงานร้อยละ 100

✅ ร้อยละ 62 ของผู้ป่วยยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา ได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพต่อเนื่องจนถึงการติดตาม (Retention Rate) ผลงานดำเนินงาน ร้อยละ 87.04 ผ่านเกณฑ์

✅ อัตราฆ่าตัวตายสำเร็จ ≤ 8.0 ต่อประชากรแสน อัตรา 6.54 ต่อประชากรแสนคน ผ่าน/ไม่เกินเกณฑ์

✅ ร้อยละ 90 ผู้พยายามฆ่าตัวตายไม่กลับมาทำร้ายตัวเองซ้ำในระยะเวลา 1 ปี ร้อยละ 93.02 ผ่านเกณฑ์

✅ ร้อยละ 55 ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีอาการทุเลาในการติดตาม 6 เดือน ผลการดำเนินงาน 98.44

ข้อชื่นชม ปัจจัยสู่ความสำเร็จของงาน

1.) จังหวัดมีมาตรการ แนวทางการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติดที่เป็นรูปธรรม กระบวนการค้นหาคัดกรอง (Pre Hospital) ดูแลบำบัดรักษา (In Hospital) มี “มินิธัญญารักษ์” ดูแลผู้ป่วยยาเสพติดและสุขภาพจิต โดยการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่าย Health และ Non Health (Post Hospital)

2. การดำเนินงาน “CBTx ครอบคลุม 7 อำเภอ” (39 หมู่บ้าน) มีแผนการขยายผลให้ครอบคลุมมากขึ้น ผลักดันสู่ประเด็น พชอ. ทุกอำเภอ

3. ดำเนินการเชิงรุก โครงการชุมชนบำบัดอย่างยั่งยืน (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ) เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจร นำร่อง 15 หมู่บ้าน 15 สถานีตำรวจ ดำเนินการร่วมกับ CBTx (X-ray ค้นหาคัดกรองในชุมชน เร่งนำผู้ป่วยเข้าสู่การรักษา)

4. มีกลไกความร่วมมือป้องกันแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตและยาเสพติดอย่างเป็นระบบ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดให้ความสำคัญ ดำเนินการผ่านกระบวนการ คณะกรรมการด้านยาเสพติดจังหวัด (เวทีประชุม กวป. ติดตามผ่านคณะกรรมการ ศอ.ปส.จ./ ศอ.ปส.อ. ทุกเดือน)

5. มีการน้อมนำโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE ต่อเนื่อง

6. มีการกำหนดเป็นแนวทาง “สอบสวนโรค (Psychological Autopsy) ผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จทุกราย” เพื่อนำไปสู่การกำหนด มาตรการป้องกันเฝ้าระวัง แก้ไขปัญหา เป็นแนวทางและมาตรการเฉพาะ

7. โรงพยาบาลมุกดาหาร ดำเนินการเชิงรุก “โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น ป้องกันการกลั่นแกล้งรังแกกัน Stop Cyberbullying” ปี 2567 ดำเนินการ 4 โรงเรียน สพป./สพม. (รร.มุกดาหาร, รร.วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร, รร.ทีโอเอ และ รร.มุกดาลัย) กลุ่มเป้าหมาย 1,020 คน ให้ความรู้ดูแลจิตใจ เฝ้าระวังป้องกันความเสี่ยงสุขภาพจิต มีการให้คำปรึกษา เชิงรุกโดยนักจิตวิทยา รพ.มุกดาหาร เข้าถึงกลุ่มเสี่ยงนักเรียน ใน รร.วิทยาศาสตร์จุฬาภรณฯ มุกดาหาร

7. ดำเนินการคัดกรองซึมเศร้าวัยรุ่นในสถานศึกษา อายุ 13 – 18 ปีต่อเนื่อง เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและนำเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพจิต

ขอชื่นชม ส่งกำลังใจ ขอขอบคุณ ในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ด้วยพลัง สรรพกำลัง กาย ใจ ของทุกความร่วมมือ ภาคีเครือข่าย สู่ประชาชนคนมุกดาหารสุขภาพจิตดี มีความสุข

เพิ่มเติม : https://www.facebook.com/share/p/jhqido2ufVpsFMWR/