ศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 ร่วมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตนักศึกษา ด้วยมิตรช่วยกัน สัมพันธ์น้องพี่ มีเครือข่ายคู่ใจ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
3 พ.ค. 2567 537วันที่ 3 พฤษภาคม 2567 ดร.สุภาภรณ์ ศรีธัญรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 มอบหมาย นางสาวสกุลรัตน์ จารุสันติกุล รองผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 และกลุ่มงานวิชาการสุขภาพจิต ศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 ร่วมการประชุมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักศึกษา "โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตด้วยมิตรช่วยกัน สัมพันธ์น้องพี่ มีเครือข่ายคู่ใจ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ" ภายใต้โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและเผยแพร่รูปแบบการช่วยเหลือและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตให้กับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ณ ห้องประชุมกาสะลอง 3 ชั้น 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ในการนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรปวีณ์ ชื่นใจเรือง คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กล่าวต้อนรับและเป็นประธานเปิดการประชุมฯ ในส่วนของเครือข่ายคู่ใจขับเคลื่อนการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักศึกษา ประกอบด้วย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ งานสุขภาพจิต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ งานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลศรีสะเกษ และศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 จากการประชุมนำไปสู่การกำหนดแนวทาง รูปแบบการขับเคลื่อนระบบดูแลช่วยเหลือนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ทบทวนระบบหลักที่มีอยู่ ทั้งการประเมินคัดกรองด้านสุขภาพจิต การดูแลช่วยเหลือ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย และระบบสนับสนุน ได้แก่ บทบาทการนำ แผนงาน การบริหารจัดการ การพัฒนาบุคลากร ภายใต้ระบบข้อมูลสารสนเทศและการจัดการความรู้ ที่จะช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนดำเนินงานที่นำไปสู่ผลลัพธ์ที่มุ่งหวัง คือ นักศึกษากลุ่มเสี่ยงสุขภาพจิตและผู้มีปัญหาสุขภาพจิตได้รับการดูแลช่วยเหลือทางสังคมและจิตใจต่อไป
การขับเคลื่อนระบบดูแลช่วยเหลือนักศึกษา ขั้นตอนต่อจากนี้ (Next Step) มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ดำเนินการ
1.) สร้างความร่วมมือผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหาร คณะ สโมสรนักศึกษา งานพัฒนานักศึกษา เป็นต้น ในการขับเคลื่อนระบบดูแลช่วยเหลือนักศึกษาในมหาวิทยาลัย
2.) ประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาเข้าถึงช่องทางการประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้น ด้วยโปรแกรม Mental Health Check In
3.) กำหนดช่วงเวลาในการประเมินสุขภาพจิต เพื่อวิเคราะห์ภาพรวมและดูแลช่วยเหลือ รวมถึงกำหนดช่วงเวลาในการส่งออกข้อมูล รายงาน และติดตามดูแลช่วยเหลือตามระบบ เช่น การประเมินสุขภาพจิตนักศึกษาใหม่ การเผยแพร่ให้นักศึกษาทราบถึงช่องทางการประเมินตามจุดและสถานที่ต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย รวมถือสื่อออนไลน์ Social Network Platform ต่าง ๆ เป็นต้น
4.) การสร้างการมีส่วนร่วมผู้ปกครอง ครอบครัวของนักศึกษา ชุมชน มหาวิทยาลัย ในการดูแลช่วยเหลือนักศึกษา
5.) การเชื่อมโยง ประสานส่งต่อข้อมูล เข้าสู่ระบบริการสุขภาพจิต คลินิกจิตเวช โรงพยาบาลศรีสะเกษ
6.) กำหนด วางแผน ประเมินสุขภาพจิต ด้วยโปรแกรม Mental Health Check In นักศึกษาใหม่ทุกราย และนำผลการประเมินนำเสนอต่อผู้บริหาร เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อไป และกำหนดบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง
7.) พัฒนาศักยภาพอาจารย์ อาจารย์ที่ปรึกษา แกนนำนักศึกษา บุคลากรสนับสนุนที่รับผิดชอบในการให้คำปรึกษา เรื่อง การให้คำปรึกษาและการดูแลช่วยเหลือด้านจิตใจเบื้องต้น