ตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดอุบลราชธานี รอบที่ 1 ปีงบประมาณ 2567

กรมสุขภาพจิต โดย นายแพทย์นรวีร์ พุ่มจันทร์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษาคณะตรวจราชการและนิเทศงาน กระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 10 ประเด็นที่ 2 สุขภาพจิตและยาเสพติด ร่วมกับ ดร.สุภาภรณ์ ศรีธัญรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตทึ่ 10 ประธานคณะตรวจราชการฯ และคณะตรวจราชการฯ แพทย์หญิงศรีอาภา อัจฉยะสวัสดิ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ โรงพยาบาลศรีสะเกษ นายแพทย์วิวัฒน์ สารพัฒน์ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ นางพิศมัย รัตนเดช หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สุขภาพจิตและยาเสพติด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร นางสาวสกุลรัตน์ จารุสันติกุล หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการสุขภาพจิต ศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 พร้อมคณะผู้นิเทศศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 ลงพื้นที่ตรวจราชการและสรุปผลการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดอุบลราชธานี รอบที่ 1 ปีงบประมาณ 2567 ระหว่างวันที่ 13 - 15 มีนาคม 2567 โดยมี นายแพทย์สมฤกษ์ จึงสมาน ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 10 เป็นประธานการสรุปผลฯ แพทย์หญิงอุไรวรรณ จำนรรจ์สิริ รักษาการสาธารณสุขนิเทศก์ และคณะผู้บริหารเข้าร่วมฯ ในส่วนของประเด็นที่ 2 สุขภาพจิตและยาเสพติด Grouping & Clustering : สรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด จำนวน 6 ตัวชี้วัด ด้านบริการเป็นเลิศ (Service Excellence) รวมถึงกำกับ ติดตาม ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการเร่งรัด “Quick win 100 วัน ประเด็นสุขภาพจิตและยาเสพติด” เพื่อให้ผู้มีปัญหาสุขภาพจิต ผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพได้ทุกทึ่ (Mental Health Anywhere) สามารถกลับไปใช้ชีวิตในชุมชนได้ “คืนคนสู่สังคม สังคมปลอดภัย ไร้ความรุนแรง” ได้แก่ ✅ มินิธัญญารักษ์ดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดอย่างครบวงจร เป้าหมาย 1 แห่ง ดำเนินการ 2 แห่ง มินิธัญญารักษ์ โรงพยาบาลศรีเมืองใหม่ และโรงพยาบาลตระการพืชผล (กำลังจะเปิดบริการอีก 2 แห่ง) ผลการดำเนินงานร้อยละ 100 ✅ ร้อยละ 70 หอผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีคุณภาพในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป เป้าหมาย 4 แห่ง ดำเนินการ 4 แห่ง ผลการดำเนินงานร้อยละ 100 ✅ ร้อยละ 100 โรงพยาบาลชุมชนที่มีกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด เป้าหมาย 22 แห่ง ดำเนินการ 22 แห่ง/อำเภอ ผลการดำเนินงานร้อยละ 100 ✅ ร้อยละ 62 ของผู้ป่วยยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา ได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพต่อเนื่องจนถึงการติดตาม (Retention Rate) ผลงานดำเนินงาน ร้อยละ 72.74 ผ่านเกณฑ์ ✅ อัตราฆ่าตัวตายสำเร็จ ≤ 8.0 ต่อประชากรแสน รอบ 4 เดือน อัตรา 2.94 ต่อประชากรแสนคน ผ่าน/ไม่เกินเกณฑ์ ✅ ร้อยละ 90 ผู้พยายามฆ่าตัวตายไม่กลับมาทำร้ายตัวเองซ้ำในระยะเวลา 1 ปี รอบ 4 เดือน ร้อยละ 88.46 ผ่านเกณณ์ (รอบประเมิน 6 เดือน กำหนดไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50) ✅ ร้อยละ 55 ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีอาการทุเลาในการติดตาม 6 เดือน ผลการดำเนินงานอยู่ระหว่างดำเนินการ "ข้อชื่นชม ปัจจัยสู่ความสำเร็จของงาน" 1.) จังหวัดมีมาตรการ แนวทางการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติดที่เป็นรูปธรรม กระบวนการค้นหาคัดกรอง (Pre Hospital) ดูแลบำบัดรักษา (In Hospital) มี “มินิธัญญารักษ์” ดูแลผู้ป่วยยาเสพติดและสุขภาพจิต โดยการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่าย Health และ Non Health (Post Hospital) 2.) การดำเนินงานบำบัดฟื้นฟูโดยชุมชนมีส่วนร่วม “CBTx ชุมชนล้อมรักษ์” เชื่อมโยงกับโครงการชุมชนยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ ครอบคลุม 25 อำเภอ 219 ตำบล 219 หมู่บ้าน บูรณาการภาคีเครือข่าย ตำรวจ ปกครอง สาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน อสม. เป็นต้น 3.) ปี พ.ศ. 2566 สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดกองบิน 21 อุบลราชธานี ได้รับรางวัลสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดดีเด่น ระดับประเทศ ผลงานรับผู้ป่วยติดยาเสพติดเข้ารับการรักษา ระยะ 120 วัน ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพด้านยาเสพติดแบบบูรณาการ คืนคนดีสู่สังคม 4.) มีกลไกความร่วมมือในการป้องกันแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตและยาเสพติดอย่างเป็นระบบ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้บริหารให้ความสำคัญ มีการประชุม ดำเนินการผ่านกระบวนการ คณะกรรมการด้านยาเสพติดจังหวัด (เวทีประชุม กวป. โต๊ะข่าวยาเสพติด ประชุมติดตามงานไตรมาสละ 1 ครั้ง) คณะอนุกรรมการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิตระดับจังหวัด (ประชุมติดตามงานปีละ 2 ครั้ง) และ น้อมนำโครงการโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE เป็นจังหวัดกลุ่มรักษามาตรฐาน “ระดับเพชร ปีที่ 4” 5.) มีการกำหนดแนวทางการสอบสวนการฆ่าตัวตาย (Psychological Autopsy) และมีแผนพัฒนาศักยภาพทีมสวนระดับอำเภอ เพื่อนำไปสู่การกำหนดมาตรการป้องกันเฝ้าระวัง แก้ไขปัญหา เป็นแนวทางและมาตรการเฉพาะ 6.) ดำเนินการเชิงรุกขับเคลื่อนแนวทางเฝ้าระวังป้องกันการฆ่าตัวตาย โดยทีม 3 หมอ แนวทางวัคซีนใจในชุมชน ในอำเภอฆ่าตัวตายสูง เพื่อป้องกันเฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม ผลักดันให้เข้าสู่เวที พชอ. // ขอชื่นชม ส่งกำลังใจ ขอขอบคุณ ในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ด้วยพลัง สรรพกำลัง กาย ใจ ของทุกความร่วมมือ ภาคีเครือข่าย สู่ประชาชนคนอุบลราชธานีสุขภาพจิตดี มีความสุข #ตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ #กระทรวงสาธารณสุข #เขตสุขภาพที่10 #จังหวัดอุบลราชธานี #รอบที่1ปีงบประมาณ2567

15 มี.ค. 2567
218