ตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดอำนาจเจริญ รอบที่ 1 ปีงบประมาณ 2567
12 มี.ค. 2567 284กรมสุขภาพจิต โดย นายแพทย์นรวีร์ พุ่มจันทร์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษาคณะตรวจราชการและนิเทศงาน กระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 10 ประเด็นที่ 2 สุขภาพจิตและยาเสพติด ร่วมกับ ดร.สุภาภรณ์ ศรีธัญรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตทึ่ 10 ประธานคณะตรวจราชการฯ และคณะตรวจราชการฯ แพทย์หญิงศรีอาภา อัจฉยะสวัสดิ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ โรงพยาบาลศรีสะเกษ นายแพทย์วิวัฒน์ สารพัฒน์ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ นางพิศมัย รัตนเดช หัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สุขภาพจิตและยาเสพติด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร นางสาวสกุลรัตน์ จารุสันติกุล หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการสุขภาพจิต ศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 พร้อมคณะผู้นิเทศศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 ลงพื้นที่ตรวจราชการและสรุปผลการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดอำนาจเจริญ รอบที่ 1 ปีงบประมาณ 2567 ระหว่างวันที่ 6 - 8 มีนาคม 2567 โดยมี นายแพทย์สมฤกษ์ จึงสมาน ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 10 เป็นประธานการสรุปผลฯ ในส่วนของประเด็นที่ 2 สุขภาพจิตและยาเสพติด Grouping & Clustering : สรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด จำนวน 6 ตัวชี้วัด ด้านบริการเป็นเลิศ (Service Excellence) รวมถึงกำกับ ติดตาม ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการเร่งรัด “Quick win 100 วัน ประเด็นสุขภาพจิตและยาเสพติด” เพื่อให้ผู้มีปัญหาสุขภาพจิต ผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพได้ทุกทึ่ (Mental Health Anywhere) สามารถกลับไปใช้ชีวิตในชุมชนได้ “คืนคนสู่สังคม สังคมปลอดภัย ไร้ความรุนแรง” ได้แก่
✅ มินิธัญญารักษ์ดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดอย่างครบวงจร เป้าหมาย 1 แห่ง ดำเนินการ 1 แห่ง มินิธัญญารักษ์ บ้านภัคใจ โรงพยาบาลเสนางคนิคม ผลการดำเนินงานร้อยละ 100
✅ ร้อยละ 70 หอผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีคุณภาพในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป เป้าหมาย 1 แห่ง ดำเนินการ 1 แห่ง โรงพยาบาลอำนาจเจริญ ผลการดำเนินงานร้อยละ 100
✅ ร้อยละ 100 โรงพยาบาลชุมชนที่มีกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด เป้าหมาย 6 แห่ง ดำเนินการ 6 แห่ง/อำเภอ ผลการดำเนินงานร้อยละ 100
✅ ร้อยละ 62 ของผู้ป่วยยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา ได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพต่อเนื่องจนถึงการติดตาม (Retention Rate) ผลงานดำเนินงาน ร้อยละ 35.05 (รอบ 4 เดือน/ยังไม่ถึงค่าเป้าหมาย อยู่ระหว่างดำเนินการ)
✅ อัตราฆ่าตัวตายสำเร็จ ≤ 8.0 ต่อประชากรแสน รอบ 4 เดือน อัตรา 2.13 ต่อประชากรแสนคน ผ่าน/ไม่เกินเกณฑ์
✅ ร้อยละ 90 ผู้พยายามฆ่าตัวตายไม่กลับมาทำร้ายตัวเองซ้ำในระยะเวลา 1 ปี รอบ 4 เดือน ร้อยละ 88.46 ผ่านเกณณ์ (รอบประเมิน 6 เดือน กำหนดไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50)
✅ ร้อยละ 55 ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีอาการทุเลาในการติดตาม 6 เดือน ผลการดำเนินงานอยู่ระหว่างดำเนินการ
ข้อชื่นชม ปัจจัยสู่ความสำเร็จของงาน 1.) จังหวัดมีมาตรการ แนวทางการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติดที่เป็นรูปธรรม กระบวนการค้นหาคัดกรอง (Pre Hospital) ดูแลบำบัดรักษา (In Hospital) มี “มินิธัญญารักษ์ โรงพยาบาลเสนางคนิคม” ดูแลผู้ป่วยยาเสพติดและสุขภาพจิต โดยการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่าย Health และ Non Health 2.) การดำเนินงานบำบัดฟื้นฟูโดยชุมชนมีส่วนร่วม “CBTx ชุมชนล้อมรักษ์” เชื่อมโยงกับโครงการชุมชนยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ ครอบคลุม 7 อำเภอ 26 ตำบล 40 หมู่บ้าน บูรณาการภาคีเครือข่าย ตำรวจ ปกครอง สาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน อสม. เป็นต้น 3.) ปี พ.ศ. 2566 อำเภอปทุมราชวงศา ได้รับรางวัลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ 4.) หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 51 (นพค 51) กองบัญชาการกองทัพไทย ดำเนินงานร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ โดย นพค 51 รับผู้ป่วยติดยาเสพติดเข้ารับการรักษาตามหลักสูตรบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพรูปแบบชุมชนบำบัด และ FAST MODEL (ระยะ 120 วัน) ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพด้านยาเสพติดแบบบูรณาการ คืนคนดีสู่สังคม และในปี พ.ศ. 2566 นพค 51 ได้รับรางวัลสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดดีเด่น 5.)ความภาคภูมิใจ “อสม. พูลภัสร์ ภูวงษ์” อสม.บ้านหนองทับม้า อำเภอเสนางคนิคม ได้รับการคัดเลือกเป็น “อสม.ดีเด่น ระดับชาติ สาขา ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน” ประจำปี 2567 6.) มีกลไกความร่วมมือในการป้องกันแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตและยาเสพติดอย่างเป็นระบบ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้บริหารให้ความสำคัญ มีการประชุม กำหนดยุทธศาสตร์การทำงาน ดำเนินการผ่านกระบวนการ แนวทาง คณะอนุกรรมการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิตระดับจังหวัด และน้อมนำโครงการโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE เป็นจังหวัดกลุ่มรักษามาตรฐาน “ระดับเพชร ปีที่ 3” 7.)มีการสอบสวนการฆ่าตัวตาย (Psychological Autopsy) ในรายที่ฆ่าตัวตายสำเร็จทุกราย จังหวัดวิเคราะห์ บ่งชี้กลุ่มเสี่ยงและปัจจัยในการเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันเฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาเป็นแนวทางและมาตรการเฉพาะ 8.) ดำเนินการเชิงรุก “โครงการเฝ้าระวังกลุ่มวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้า ปี 2567” ทุกอำเภอคัดกรองซึมเศร้าวัยรุ่นในโรงเรียน อบรมครูอนามัย/แกนนำนักเรียนในการเฝ้าระวังฯ มีแนวทางส่งต่อเข้าสู่ระบบรักษา ประสานงานการให้ความช่วยเหลือและส่งต่อเด็กกลุ่มเสี่ยงระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและครูผ่านโปรแกรม School Health HERO ...ขอชื่นชม ส่งกำลังใจ ขอขอบคุณ ในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ด้วยพลัง สรรพกำลัง กาย ???? ใจ ของทุกความร่วมมือ ภาคีเครือข่าย สู่ประชาชนคนอำนาจเจริญสุขภาพจิตดี มีความสุข