ตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดมุกดาหาร รอบที่ 1 ปีงบประมาณ 2567

22 มี.ค. 2567 264

กรมสุขภาพจิต โดย นายแพทย์นรวีร์ พุ่มจันทร์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษาคณะตรวจราชการและนิเทศงาน กระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 10 ประเด็นที่ 2 สุขภาพจิตและยาเสพติด ร่วมกับ ดร.สุภาภรณ์ ศรีธัญรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตทึ่ 10 ประธานคณะตรวจราชการฯ และคณะตรวจราชการฯ นายแพทย์วิวัฒน์ สารพัฒน์ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ นายแพทย์อาทิตย์ เชยคำดี นายแพทย์ชำนาญการ นางสาวสกุลรัตน์ จารุสันติกุล หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการสุขภาพจิต ศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 พร้อมคณะผู้นิเทศศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 ลงพื้นที่ตรวจราชการและสรุปผลการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดมุกดาหาร รอบที่ 1 ปีงบประมาณ 2567 ระหว่างวันที่ 20 - 22 มีนาคม 2567 โดยมี นายแพทย์สมฤกษ์ จึงสมาน ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 10 เป็นประธานการสรุปผลฯ แพทย์หญิงอุไรวรรณ จำนรรจ์สิริ รักษาการสาธารณสุขนิเทศก์ และคณะผู้บริหาร เขตสุขภาพที่ 10 เข้าร่วมฯ ในส่วนของประเด็นที่ 2 สุขภาพจิตและยาเสพติด Grouping & Clustering : สรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด จำนวน 6 ตัวชี้วัด ด้านบริการเป็นเลิศ (Service Excellence) รวมถึงกำกับ ติดตาม ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการเร่งรัด “Quick win 100 วัน ประเด็นสุขภาพจิตและยาเสพติด” เพื่อให้ผู้มีปัญหาสุขภาพจิต ผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพได้ทุกทึ่ (Mental Health Anywhere) สามารถกลับไปใช้ชีวิตในชุมชนได้ “คืนคนสู่สังคม สังคมปลอดภัย ไร้ความรุนแรง” ได้แก่ 1.) มินิธัญญารักษ์ดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดอย่างครบวงจร เป้าหมาย 1 แห่ง ดำเนินการ 2 แห่ง มินิธัญญารักษ์ โรงพยาบาลคำชะอี และ โรงพยาบาลหว้านใหญ่ ผลการดำเนินงานร้อยละ 100 2.) ร้อยละ 70 หอผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีคุณภาพในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป เป้าหมาย 1 แห่ง ดำเนินการ 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลมุกดาหาร ผลการดำเนินงานร้อยละ 100 3.) ร้อยละ 100 โรงพยาบาลชุมชนที่มีกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด เป้าหมาย 6 แห่ง ดำเนินการ 6 แห่ง/อำเภอ ผลการดำเนินงานร้อยละ 100 4.) ร้อยละ 62 ของผู้ป่วยยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา ได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพต่อเนื่องจนถึงการติดตาม (Retention Rate) ผลงานดำเนินงาน ร้อยละ 79.78 ผ่านเกณฑ์ 5.) อัตราฆ่าตัวตายสำเร็จ ≤ 8.0 ต่อประชากรแสน รอบ 4 เดือน อัตรา 3.45 ต่อประชากรแสนคน ผ่าน ผลงานไม่เกินเกณฑ์ 6.) ร้อยละ 90 ผู้พยายามฆ่าตัวตายไม่กลับมาทำร้ายตัวเองซ้ำในระยะเวลา 1 ปี รอบ 4 เดือน ร้อยละ 100 ผ่านเกณณ์ (รอบประเมิน 6 เดือน กำหนดไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50) 7.) ร้อยละ 55 ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีอาการทุเลาในการติดตาม 6 เดือน ผลการดำเนินงานอยู่ระหว่างดำเนินการ / ข้อชื่นชม ปัจจัยสู่ความสำเร็จของงาo จังหวัดมีมาตรการ แนวทางการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติดครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการการค้นหาคัดกรอง (Pre Hospital) ดูแลบำบัดรักษา (In Hospital) มีมินิธัญญารักษ์ โรงพยาบาลคำชะอี โรงพยาบาลหว้านใหญ่ ดูแลผู้ป่วยยาเสพติดและสุขภาพจิต โดยการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่าย Health และ Non Health และการดูแลฟื้นฟูในชุมชน (Post Hospital) การดำเนินงานบำบัดฟื้นฟูโดยชุมชนมีส่วนร่วม “CBTx ชุมชนล้อมรักษ์” เชื่อมโยงกับโครงการชุมชนยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ ครอบคลุม 7 อำเภอ 7 ตำบล 19 หมู่บ้าน บูรณาการภาคีเครือข่าย ตำรวจ ปกครอง สาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน อสม. เป็นต้น และ ปี พ.ศ. 2566 นายอำเภอนิคมคำสร้อย “รับรางวัลธัญญารักษ์อวอร์ด” ประเภทบุคคลที่มีผลงานด้านการบริหารจัดการหรือ พัฒนานโยบายการแก้ไขปัญหาผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดดีเด่น จากการร่วมมือภาคีเครือข่าย มีกลไกความร่วมมือในการป้องกันแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตและยาเสพติดอย่างเป็นระบบ ผู้บริหารให้ความสำคัญ มีการประชุม ดำเนินการผ่านกระบวนการ คณะกรรมการ เวทีประชุม กวป. โต๊ะข่าวยาเสพติด) และ น้อมนำโครงการ TO BE NUMBER ONE มาใช้ เป็นจังหวัดกลุ่มรักษามาตรฐาน “ระดับทอง ปีที่ 1” พร้อมเป็นปีที่ 2 รวมถึงพื้นที่ให้ความสำคัญกับการสอบสวนสาเหตุฆ่าตัวตาย เพื่อนำไปสู่การกำหนดมาตรการป้องกันฯ แก้ไขปัญหา และโรงพยาบาลมุกดาหาร ดำเนินการเชิงรุก “โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น ป้องกันการกลั่นแกล้งรังแกกัน Stop Cyberbullying” ปี 2567 ดำเนินการใน 4 โรงเรียน (โรงเรียนมุกดาหาร โรงเรียนจุฬาภรณฯ โรงเรียนทีโอเอ และโรงเรียนมุกดาลัย) กลุ่มเป้าหมายกว่า 1,020 คน ให้ความรู้ ดูแลจิตใจ เฝ้าระวังป้องกันความเสี่ยงสุขภาพจิต กลุ่มงานสุขภาพจิตและยาเสพติด/หอผู้ป่วยพักใจ เข้มแข็ง เป็นพี่เลี้ยงเครือข่าย ดูแล - รับส่งต่อผู้ป่วย